กฎหมายแรงงานที่ลูกจ้างควรรู้ ป้องกันการโดนเอาเปรียบ

กฎหมายแรงงาน

มีให้เห็นกันบ่อยครั้งกับการที่ลูกจ้างถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง เพราะการเป็นมนุษย์เงินเดือนมักจะถูกเอาเปรียบได้ง่าย ด้วยนายจ้างที่คิดว่าตัวเองถือไพ่เหนือกว่า แต่ความเป็นจริงแล้ว ลูกจ้างทั้งหลายล้วนแต่มีกฎหมายแรงงานที่ให้ความคุ้มครองและดูแล ซึ่งหลายๆคนก็อาจจะยังไม่ทราบว่าสะกดหมายแรงงานเหล่านี้ให้ความคุ้มครองในเรื่องใดบ้าง ดังนั้นตามเราไปดูกันเลยว่า มีส่วนไหนบ้างทีลูกจ้างควรทราบเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานที่ให้ความคุ้มครองและดูแล

เรื่องที่ควรทราบเกี่ยวกับกฎหมายแรงงานเบื้องต้น

  • วันทำงานปกติควรทำกี่ชั่วโมง สำหรับเวลาทำงานสามารถแยกได้สองหมวดด้วยกันคืองานทั่วไปที่จะทำอยู่ไม่เกิน 8 ชม/วัน ส่วนเวลาเข้างานและเลิกงานก็ขึ้นอยู่กับนายจ้างและลูกจ้างจะตกลงกัน ส่วนในหมวดงานที่เกิดอันตรายต่อสุขภาพอย่างเช่น งานเชื่อมโลหะงานขนส่งวัตถุอันตราย สามารถทำงานได้ไม่เกิน 7 ชม/วัน
  • หากต้อง ทำงานล่วงเวลา ในกรณีการทำงานล่วงเวลาแน่นอนว่า ขึ้นอยู่กับการ ได้รับการยินยอมทั้งสองฝ่ายหรือการพูดคุยกันระหว่างทั้งเจ้านายและลูกจ้าง ว่าหากต้องมีการทำงานล่วงเวลา จะยินยอมตกลงหรือไม่ ซึ่งแน่นอนว่า อาจจะต้องมีการจ่ายค่าจ้างเพิ่มเติมในวันหยุดงาน
  • เวลาพักตามกฎหมาย สำหรับเวลาพักของพนักงานแน่นอนว่าแบ่งได้สองกรณีด้วยกันนั่นก็คือเวลาพักระหว่างทำงานปกติซึ่งตามกฎหมายแล้วกำหนดไว้ไม่น้อยกว่าหนึ่งชั่วโมง ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับ การตกลงกันของแต่ละบริษัท
  • ลาพักร้อนในแต่ละปี สำหรับการลาพักร้อนประจำปีตามพรบคุ้มครองแรงงาน ระบุไว้ว่านายจ้างจะต้องกำหนดให้มีวันหยุดพักผ่อนประจำปีของพนักงานโดยไม่น้อยกว่า 6 วันทำงาน ซึ่งบางบริษัท อาจจะมากกว่า ขึ้นอยู่กับอายุงานของพนักงานแต่ละบริษัท
  • ลาป่วยโดนหักเงินหรือไม่ การรับป่วย ขึ้นอยู่กับแต่ละ บุคคลแต่ละปัจจัย ซึ่งบางครั้งบางบริษัทอาจจะขอใบรับรองแพทย์ เพื่อมารองรับ ความน่าเชื่อถือในการลาป่วย ก็จะไม่โดนหักเงิน
  • ลากิจสามารถลาได้กี่วัน สำหรับในส่วนของลากิจ และได้ไม่น้อยกว่า 3วันทำงาน หรือขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท ที่มีข้อตกลงและเงื่อนไขในการรับเข้าทำงานที่คุณทราบก่อนแล้ว

นี่เป็นกฎหมายคุ้มครองแรงงานเบื้องต้นที่คุณควรทราบ ซึ่งจะช่วยทำให้คุณไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบ สำหรับใครที่ยังไม่ทราบก็ลองเข้ามาทำความรู้จักกับรูปแบบกฎหมายแรงงานต่างๆนี้ดูก่อน เพื่อทำความเข้าใจและ ทำให้คุณสามารถมีข้อกฎหมายไปพูดคุยกับ บริษัทใด ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับสัญญาที่คุณเซนในช่วงแรกเข้าทำงานด้วยว่ามีข้อกำหนดต่างๆ ที่ชี้แจงก่อนหรือไม่ ซึ่งหากคุณเซ็นรับทราบไปแล้ว ก็อาจจะเป็นเรื่องที่พูดยาก เพราะว่าเป็นข้อตกลงทั้งระหว่างทั้งสองฝ่าย

Back To Top